หลักฐานทางด้านประติมากรรมก่อนสมัยสุโขทัย
นอกจากพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบลพบุรี มีขนาดเล็ก หล่อด้วยสำริด
จากวัดพระพายหลวงแล้ว ที่ศาลตาผาแดงได้พบประวัติมากรรมลอยตัว สลักจากหินทราย
เป็นรูปเทวดา เทวนารี จำนวน 6 รูป
มีทั้งขนาดเท่าคนและเล็กกว่า ทั้งหมดล้วนชำรุด เศียรและกรหักหาย
ลวดลายสลักในส่วนของเครื่องประดับ เช่น กรองศอ เข็มขัด มีพู่ห้อย ตลอดจนการนุ่งผ้า
ชักชายผ้ายาว เทียบได้กับศิลปะขอมแบบนครวัด โดยสืบต่อมาในศิลปะแบบบายนพระพุทธรูปแตกต่างจากพระพุทธรูปทรงเครื่องของฝ่ายมหายาน
พระพุทธรูปในศิลปะสมัยสุโขทัยตามแบบแผนของชาวพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
ถ่ายทอดผ่านรูปทรงอันเกิดจากสัดส่วน เส้นนอก
และปริมาตรซึ่งประสานกลมกลืนกันอย่างเรียบง่าย
นักวิชาการได้แบ่งลักษณะของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยออกเป็น
หมวดวัดตะกวนหมวดใหญ่ หมวดพระพุทธชินราช และหมวดกำแพงเพชร
อนึ่งความเชื่อในศาสนาฮินดูมีอยู่ด้วยแต่เป็นส่วนน้อย
ปะปนกับพุทธศาสนาได้ปรากฏอยู่ที่การสร้างเทวรูป เช่น พระนารายณ์ พระพรหม
พระอิศวร ด้วยสุนทรีภาพไม่แตกต่างจากพระพุทธรูปช่วงของพัฒนาการ ราว พ.ศ. 2508
ภายในปราสาทแบบขอองค์กลางของวัดพระพายหลวง
นักโบราณคดีได้พบพระพุทธรูปปั้นซึ่งเปื่อยยุ่ยจนรักษาไว้ไม่ได้
พระอุระของพระพุทธรูปองค์นี้บรรจุชิ้นส่วนของพระพุทธรูปปูนปั้น เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรประกอบชิ้นส่วนดังกล่าว
ได้เป็นพระพุทธรูปขนาดย่อมเพียงครึ่งท่อนบน ทรงครองจีวรเฉียงเปิดอังสาขวา
บนพระอังสาซ้ายมีชายจีวรสั้นพาดอยู่ ชายจีวรหยักแยกสองแฉกคล้ายเขี้ยวตะขาบหักหลุดไปบางส่วน
เม็ดพระศกค่อนข้างเล็ก อุษณีษะหรือกะโหลกเศียรที่โป่งนูน
อันเป็นหนึ่งในลักษณะมหาบุรุษ รัศมีที่หักหายคงเป็นทรงดอกบัวตูม พระพักตร์กลม
พระนลาฏค่อนข้างกว้าง แนวเม็ดพระศกหย่อนเล็กน้อยที่กลางพระนลาฏ พระขนงโก่ง
หัวพระขนงไม่ชัดกัน พระเนตรหรี่ลงต่ำ พระนาสิกโด่ง แต่ค่อนข้างสั้น พระโอษฐ์อิ่ม
พระหนุ(คาง) เป็นปมลักษณะดังกล่าวควรเป็นพระพุทธรูประยะแรกของศิลปะสุโขทัย
ในครึ่งแรกของพระพุทธศตวรรษที่ 19 สอดคล้องกับกำหนดอายุจากหลักฐานการขุดแต่งอีกครั้งของกรมศิลปากร
ระหว่าง พ.ศ. 2528 – 2529 ที่เจดีย์สี่เหลี่ยมซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของวัดนี้
วัตถุปูนปั้นที่ได้พบจากการขุดแต่งในบริเวณเจดีย์สี่เหลี่ยมองค์นี้ ได้แก่
เศียรพระพุทธรูป
หลายเศียรอยู่ในกลุ่มพระพักตร์กลมรวมทั้งเศียรพระสงฆ์สาวกและเทวดาที่ได้พบอยู่ด้วยกัน
แสดงถึงงานสร้างระยะแรกเช่นกัน ต่อมางานปูนปั้นเหล่านี้ถูกนำมารวมกันในการบูรณะคราวหนึ่งในสมัยสุโขทัยโดยเรียงรวมกันไว้อย่างเป็นระเบียบทางด้านตะวันออกของเจดีย์ก่อนที่จะก็เป็นฐานชุกชีครอบไว้
และสร้างพระพุทธรูปไว้บนฐานชุกชีนั้น ปัจจุบันนั้นชำรุดไปหมดแล้ว ลักษณะของพระพุทธรูประยะแรกของสุโขทัย
เรียกกันมาก่อนว่า หมวดวัดตระกวน เพราะได้พบที่คล้ายคลึงเป็นครั้งแรกที่วัดตะกวน
สุโขทัย
การเปรียบเทียบพระพุทธรูปแบบนี้กับพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นแรกของแคว้นล้านนา
รวมครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 19 พบว่ามีส่วนคล้ายคลึงกัน
แหล่งบันดาลใจจากเมืองมอญ – พม่า โดยเฉพาะในช่วงปลายสมัยพุกาม
ย่อมเป็นต้นเค้าให้แก่แบบอย่างระยะแรกทั้งศิลปะของแคว้นล้านนาและสุโขทัย พระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นแรกของแคว้นล้านนาส่วนมากหล่อจากสำริด
ขณะที่พระพุทธรูปรุ่นแรกของสุโขทัยเป็นงานปูนปั้น
อาจใช้เป็นหลักฐานสนับสนุนความคิดที่ว่า งานหล่อสำริดของแคว้นล้านนาเจริญขึ้นก่อน
เมื่อล่วงเข้าสู่ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 19 งานหล่อสำริดในศิลปะสุโขทัย
จึงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการหล่อพระพุทธรูปสำริดจำนวนมาก
คุณภาพของงานหล่อควบคู่กับความสมบูรณ์ทางรูปแบบศิลปะ
ได้บรรลุถึงความงามอย่างอุดมคติของพระพุทธรูปหมวดใหญ่ในศิลปะสุโขทัย
แต่ก่อนจะพัฒนามาเป็นลักษณะของพระพุทธรูปหมวดใหญ่
แนวโน้มการคลี่คลายเชื่อว่าปรากฏอยู่ในพระพุทธรูปที่เจดีย์วัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย
บรรดาพระพุทธรูปปูนปั้นที่ชุดรุดของ เจดีย์องค์นี้ประดิษฐานอยู่ในจระนำห้าช่อง
เรียงรายที่แต่ละด้านของฐานสี่เหลี่ยมเหนือลานประทักษิณ
องค์ที่เหลือสมบูรณ์ที่สุดเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ รามคำแหง พระพุทธรูปเหล่านั้นประทับขัดสมาธิราบ
พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางมารวิชัย ทรงครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา
ชายจีวรยาวพาดเหนือพระอังสาซ้าย โดยจีบทบเป็นริ้ว พระพักตร์คลี่คลายจากลักษณะกลมบ้างแล้ว
เม็ดพระศกเล็ก พระนลาฏยังค่อนข้างกว้าง อุษณีษะนูน รัศมีหักหายไปแล้ว
พระขนงวาดเป็นวงโค้งหัวพระขนงจรดกันโดยต่อเนื่องลงมาเป็นสันโด่งองพระนาสิก
ชายจีวรหรือสังฆาฎิที่จีบทบกันเป็นริ้วเป็นแบบอย่างพิเศษ
ปรากฏในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยอาจมีต้นแบบจากพระพุทธรูปนาคปรก หล่อด้วยสำริด
พบที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานีพระพุทธรูปองค์มีศักราชระบุว่าหล่อขึ้นใน พ.ศ. 1834
แบบอย่างพิเศษของชายจีวรได้พบที่พระพุทะรูปลีลาพระพักตร์รูปไข่
ปั้นด้วยปูนแบบนูนสูง ที่วัดพระศรีมหาธาตุเชลียง
จัดอยู่ในพระพุทธรูปหมวดใหญ่ สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 พระพุทธรูปเดียวกัน หล่อจากสำริด จากวัดกอก น่าน พระพุทธรูปประทับนั่ง
พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย มีชายจีวรจีบทบเป็นริ้วเช่นกัน
แสดงว่าชายจีวรเช่นนี้มีอยู่ทั่งที่พระพุทะรูปของวัดช้างล้อม
และพระพุทธรูปหมวดใหญ่ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น